อักษรกะเหรี่ยง

เนื่องจากได้เห็นป้ายอักษรกะเหรี่ยง ที่พระเจดีย์ชินเกศา วัดพระพุทธบาทตะเมาะ บ้านแม่ตูบ ต.โปงทุ่ง จึงได้รวบรวมอักษรแบบต่างๆ ของชาวกะเหรี่ยงไว้ เพื่อประโยชน์ในการศึกษา

1. หลิวา (อักษรขาว) ใช้แพร่หลายที่สุดทั้งชาวกะเหรี่ยงสะกอ (ปกาเกอะญอ) และกะเหรี่ยงโป (โผล่ง หรือกะหร่าง) ดัดแปลงจากอักษรมอญเกือบทั้งหมด แต่กะเหรี่ยงสะกอจะมีอักขระวิธีที่ต่างจากกะเหรี่ยงโป เช่น มีเครื่องหมายวรรณยุกต์ที่ประดิษฐ์ขึ้นโดยเฉพาะ

2. หลิชอแวะ/ไลก์ช่องวิ (อักษรไก่เขี่ย) เป็นอักษรที่เก่าแก่ที่สุดของชนเผ่า ปัจจุบันแทบไม่มีคนใช้ ยกเว้นหมอผีในศาสนาแลแกซึ่งเป็นศาสนาโบราณของชาวกะเหรี่ยงยังใช้เขียนหนังสือศักดิ์สิทธิ์ อักษรนี้หาเรียนยากมาก สืบทอดกันในหมู่หมอผีในแถบ จ.กาญจนบุรีและ อ.อุ้มผาง จ.ตาก

3. หลิปาทุง (อักษรทอง) มีความเก่าแก่รองจากหลิชอแวะ มีอักขระวิธีซับซ้อน มักอยู่ในกรอบสี่เหลี่ยม ดูเผิน ๆ คล้ายอักษรจีนมาก แต่จริง ๆ แล้วดัดแปลงมาจากอักษรตระกูลอินเดียเช่นเดียวกับมอญ เพียงแต่คนกะเหรี่ยงดัดแปลงเป็นรูปเหลี่ยม ผมชอบอักษรนี้เป็นพิเศษเพราะดูแปลกตา ดูไม่ออกเลยว่าดัดแปลงมาจากอักษรตระกูลอินเดีย ที่สำคัญเขียนภาษาบาลีได้ด้วยเพราะมีพยัญชนะวรรค ก จ ต ป ครบเกือบทั้งหมด

หลิปาทุง หลิวา หลิจอแต (อักษรไทย) และคำแปล

ตัวอย่างป้ายสถานที่ มีภาษาพม่า ภาษากะเหรี่ยง (อักษรปาทุง) และภาษาไทย-อังกฤษ ภาษากะเหรี่ยงอักษรปาทุงอ่านว่า “กลู ทอ ที ลอ ซู” (ทีลอซู แปลว่าน้ำตก)

 4. หลิโรเม (อักษรโรมัน) ประดิษฐ์โดยมิชชันนารีในพม่า ใช้กันในหมู่กะเหรี่ยงสะกอที่นับถือศานาคริสต์ ใช้อักษร f j x v z แทนเสียงวรรณยุกต์ เช่น Of mux hso pez le nif htauf sau, Pgaz K’Nyau av klox

ที่มา : >กามนิตยอดชายไปค้าขายที่โกสัมพี<

https://m.pantip.com/topic/37691526

Share this post

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

scroll to top